
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมืออิเลกทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลข ตัวอักษร และรูปภาพได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนของโปรแกรม
ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการมาจากอุปกรณ์ช่วยคิดคำนวณของชาวจีน ต่อมามีผู้สร้างเครื่องที่ใช้รหัสในการบันทึกข้อมูล และใช้บัตรในการป้อนข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการใช้งานตั้งแต่ ค.ศ. 1940 เป็นต้นมา และมีผู้ประดิษฐ์และพัฒนาเรื่อยต่อมา จนแบ่งออกเป็น 5 ยุค ด้วยกันได้แก่
* ยุคแรก เริ่มในช่วง ค.ศ.1652 ยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ มีาขนาดใหญ่ และราคาแพง
* ยุคที่ 2 ระหว่าง ค.ศ.1959 – 1964 มีการนำทรานซิสเตอร์มาใช้ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง มีการคิดค้นภาษาฟอร์แทน (Fortran) เพื่อใช้สร้างโปรแกรมสำหรับใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
* ยุคที่ 3 ระหว่าง ค.ศ.1965 – 1969 มีการประดิษฐ์คิดค้น Integrated Circuit หรือ IC ทำให้ส่วนประกอบต่างของวงจรต่างๆ วางลงบนแผ่นชิป (Chip) เล็กๆ ได้นำมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้เนื้อที่วงจรประหยัดเนื้อที
* ยุคที่ 4 ระหว่าง .ศ.1970 – 1980 เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำ LST(Large cale Integrated) มาใช้ ทำให้สามารถย่อ IC ข้าในวงจรเดียวกัน ยุคนี้เริ่มเรียกคอมพิวเตอร์ว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีขนาดเล็กและราคาไม่แพง และมีความสามารถสูง ทำงานได้รวดเร็ว
* ยุคที่ 5 ค.ศ.1980 – ปัจจุบัน มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ในรูปแบบปัญญาประดิษฐ์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
ชนิดของคอมพิวเตอร์
1.ไมโครคอมพิวเตอร์ Microcomputer or PC : Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กใช้งานในธุรกิจขนาดเล็ก งานส่วนตัวหรือในวงการศึกษา ปัจจุบันมี PC ขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้เรียกว่า NoteBook หรือ Powerbook
2. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini-computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนากลาง ใช้ในงานขนาดกลางทั่วไป
3. เมนแฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe-computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานขนาดใหญ่มาก เช่น ในกองทัพของสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการคำนวณยิงขีปนาวุธ
ลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์
ลักษณะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วย (Units)ที่ทำหน้าที่ต่างกัน 4หน่วย คือ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นตัวกลางในการรับข้อมูลผ่านอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น แป้นพิมพ์ และสแกนเนอร์ โดยพิมพ์หรือวาดรูป เข้าไปในเครื่อง
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ซึ่งจะควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่อง
3.หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ เครื่องไว้ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ
3.1 ROM(Read Only Memory)เป็นหน่วยความจำหลักที่ทำหน้าที่อ่านข้อมูลเพียงอย่างเดียว
3.2 RAM (Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำรองที่ทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งหากเราปิดเครื่องจะทำให้ข้อมูลสูญหายได้
3.3 หน่วยความจำ(Memory) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ เครื่องไว้ ซึ่งมี 2ชนิดคือ
4. หน่วยแสดงผล(Output)เป็นการนำผลลัพธ์ ที่ผ่านการดำเนินการตามกรรมวิธีจากหน่วยความจำ แสดงออกมาในรูปแบบที่อ่านเข้าใจได้ง่าย อาจจะอยู่ในรูปรายงาน ตาราง กราฟ หรือรูปภาพโดยผ่านอุปกรณ์แสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ เป็นต้น
องค์ของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
1. ฮาด์แวร์ (Hardware) หมายถึงเครื่องมือต่างๆ ที่สร้างหรือออกแบบมาเพื่อใช้ดำเนินการตามกรรมวิธีของคอมพิวเตอร์
2. ซอฟแวร์ (Software) คือชุดของคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานคอมพิวเตอร์
3. บุคลากร (Peopleware) หมายถึงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
1.คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for Education Administration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นต้น
2.คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึงการบริการการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา
3.คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ
4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และ ICT
''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''
บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการศึกษา
คอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนามาเป็นยุคตั้งแต่ ค.ศ.1952 และเมื่อทศวรรษ 1960 นักการศึกษาก็เริ่มทดลองในเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการเรียนการสอน และทดลองต่อเนื่องจนเมื่อคอมพิวเตอร์พัฒนาเป็นมินิคอมพิวเตอร์ในทศวรรษที่ 1970 และในปลายทศวรรษที่ 1970 ไมโครคอมพิวเตอร์ก็ถือกำเนิดขึ้น และพัฒนาเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว พร้อม ๆ กับพัฒนาการของระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน โดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด และแบบทดสอบจะถูกพัฒนาขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ
1. 1) สามารถเรียนแบบการสอนได้ และ
1. 2) มีสมรรถภาพในการรวบรวมสารสนเทศและข้อมูลต่าง ๆ
2. หลักการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประกอบด้วย
2.1 ใช้เป็นรายบุคคล (Individualized) ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ออกแบบเพื่อใช้ส่วนบุคคล นับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผลดีที่สุด
2.2 มีการตอบโต้อย่างทันที (Immediate Feedback)
2.3 เป็นกระบวนการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน (Track Learners Process)
2.4 ปรับให้ทันสมัยได้ง่าย (Each of Updating)
2.5 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไม่สามารถทำงานได้ทุกอย่างเหมือนคน ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาเป็นส่วนนึ่งหรือช่วยสอนเท่านั้น การแก้ปัญหาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเขียนโปรแกรมให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา
2.6 การเขียนโปรแกรมที่ดีต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เชื่อว่า มนุษย์และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอกโครงสร้างบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear) โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว
2. ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) พฤติกรรมมนุษย์เป็นเรื่องของจิตใจ ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา (Branching) ของคราวเดอร์ (Crowder)
3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้Schema Thory) โครงสร้างภายในของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นเหมือนโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ ๆ ไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้เดิม (Pre-existing Knowledge)
4. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory) เพื่อตอบสนองโครงสร้างขององค์กรความรู้ที่แตกต่างกัน
จิตวิทยาเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับ การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์
1. ความสนใจและการรับรู้อย่างถูกต้อง (Attention and Perception)
2. การจดจำ (Memory)
3. ความเข้าใจ (Comprehension)
4. ความกระตือรือร้นในการเรียน (Active Learning)
5. แรงจูงใจ (Motivation)
6. การควบคุมบทเรียน (Learner Control)
7. การถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Learning)
8. ความแตกต่างรายบุคคล (Individual Difference)
สรุป
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีการตอบโต้กันได้ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับการเรียนการสอนระหว่างครูกับผู้เรียนที่อยู่ในห้องเรียนปกติ และยังสามารถตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปได้ทันท่วงที ช่วยเสริมแรงให้แก่ผู้เรียน ในขณะนี้มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกันอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย