......................................................................................
การรู้คอมพิวเตอร์ สาระสำคัญของการรู้คอมพิวเตอร์ที่ผู้ศึกษา ความรู้ 4 ประการ คือ
1. ควรมีความรู้ความเข้าใจ เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและการประยุกต์ก็ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์
3. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทั่วไปของคอมพิวเตอร์ว่าเป็นระบบ อย่างหนึ่ง
4. ควรมีเจตคติทางบวก และปราศจากอคติต่อคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ความหมายของการรู้คอมพิวเตอร์
"การรู้คอมพิวเตอร์" หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติระบบ และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์กับงานของตน" จากความหมายของ "การรู้คอมพิวเตอร์" จะทราบว่าความรู้ ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์ของบุคคล จำแนกออกได้เป็น 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่
1) ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Systems)
2) การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Applications)
3) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming)
4) เจตคติต่อคอมพิวเตอร์ (Computer Attitude)

รายละเอียด เกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์แต่ละประเด็น มีดังนี้
1) ระบบคอมพิวเตอร์
2) การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
3) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
4) สมรรถนะด้านเจตคติการรู้คอมพิวเตอร์ (Attitudinal Computer Literacy Competencies)

ระบบคอมพิวเตอร์
1. หน้าที่ทั่วไปของคอมพิวเตอร์
1.1 อธิบายเรื่องระบบเลขฐานสองและความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ระบบดิจิตอลได้
1.2 อธิบายกระบวนการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้
1.3 อธิบายระบบคอมพิวเตอร์เบื้องฐานได้
1.4 เข้าใจระบบการทำงานภายในของคอมพิวเตอร์ ทั้งในด้านเครื่อง (Hardware) และซอฟต์แวร์
1.5 เข้าใจระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบอะนาล็อคและแบบดิจิตอล
1.6 เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย

2. การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์2.การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์
2.1 อธิบายและสามารถใช้คำศัพท์ต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ CPU, Memory, Input, Output, Network, Bit, Byte, On-line, Dos, chip, LAN, Mainframe, Microprocessor, Binary, Time, Share, RAM, ROM, BASIC,…)
2.2 อธิบายความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์ทั่วไปกับคอมพิวเตอร์
2.3 อธิบายความแตกต่างระหว่างระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์แบบ Multiuser กับ Multitasking และ Singleuser กับ Single-task ได้
2.4 เข้าใจแนวคิดของระบบคอมพิวเตอร์แบบ Network และ Time-sharing
2.5 เข้าใจระบบสื่อสารในคอมพิวเตอร์แบบขนานและแบบอนุกรม
2.6 เข้าใจระบบปฏิบัติการ (OS) เช่น DOS, MS-DOS
2.7 เข้าใจระบบปฏิบัติการ (OS) และแก้ปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ได้
2.8 รู้จักวิธีการเรียนรู้และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ได้

3. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Hardware)
3.1 เข้าใจสมรรถนะและข้อจำกัดของเครื่องคอมพิวเตอร์
3.2 อธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบหลักของระบบคอมพิวเตอร์ได้
3.3 อธิบายความแตกต่างระหว่าง RAM, ROM, Disk ต่างๆ , CD-ROM และหน่วยความจำอื่นๆ

4. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
4.1 อธิบายหลักการของซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้
4.2 อธิบายสมรรถนะโดยทั่วไป และข้อจำกัดต่างๆ

5. ประวัติพัฒนาการของคอมพิวเตอร์
5.1 เข้าใจประวัติและพัฒนาการของคอมพิวเตอร์และอภิปรายผลที่มีต่อสังคมทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้
5.2 บอกระบบคอมพิวเตอร์รุ่นต่างๆ และเข้าใจสภาพของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้
5.3 บอกความแตกต่างการพัฒนาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ ยุคทรานซิสเตอร์ ยุค IC และไมโครโปรเซสเซอร์
5.4 อธิบายคุณสมบัติทั่วไปในการปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์ระบบต่างๆ
5.5 สามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ได้
5.6 เข้าใจระบบการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เช่น Load, Run, Copy, Code, Unlock, Catalog, List, Save และ Delete

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Applications)" หมายถึง ความสามารถในการประเมินการเลือก และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1. กาประยุกต์ใช้ทั่วไป
1.1 ระบุรูปแบบทั่วไปในการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ และยกตัวอย่างการใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นงานส่วนตัวและงานด้านวิชาชีพได้
1.2 สามารถแสดงให้เห็นว่า แนวคิดการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นแนวคิดที่มีประสิทธิผลที่สุด
1.3 สามารถอธิบายองค์ประกอบต่างๆ บางประการในการตัดสินใจใช้คอมพิวเตอร์ในงานหรือการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
1.4 มีความสามารถและมีแนวคิดในการสื่อสารในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มากกว่าที่จะต้องให้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมผู้ใช้

2. ผลกระทบต่อสังคม
2.1 เข้าใจสภาพการใช้โปรแกรมและการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อสังคมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
2.2 เข้าใจปัญหาและข้อถกเถียงที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในด้านกฎหมายและ จริยธรรม
2.3 เข้าใจการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต่างๆ

3. โปรแกรมประยุกต์ใช้เฉพาะงาน
3.1 อธิบายลักษณะทั่วไป สมรรถนะ และข้อจำกัดของโปรแกรมประมวลคำ (Word Processing) รวมทั้งข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โปรแกรมประเภทนี้
3.2 สามารถใช้โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing Software) ในการสร้างสรรค์ การตัดต่อ (Edit) การบันทึก และการพิมพ์เอกสารทั้งในด้านวิชาการและงานส่วนตัว
3.3 อธิบายลักษณะทั่วไป สมรรถนะ และข้อจำกัดของโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management) รวมทั้งข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โปรแกรมประเภทนี้
3.4 สามารถใช้โปรแกรมระบบการจัดการฐานข้อมูลทั้งในด้านการสร้างสรรค์ การค้นหา การสืบค้น การเรียกใช้ การตัดต่อ และการพิมพ์
3.5 อธิบายลักษณะทั่วไป สมรรถนะ และข้อจำกัดของโปรแกรมตารางและการคำนวณ (Spreadsheet-financial Management Software) รวมทั้งข้อดีและข้อจำกัดของการใช้โปรแกรมนี้
3.6 เข้าใจและสามารถใช้ระบบโปรแกรมตารางและการคำนวณได้
3.7 สามารถใช้โปรแกรมสถิติอย่างง่ายได้
3.8 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกได้ เช่น Bit-mapped Graphics และ Object-oriented Graphics เป็นต้น
3.9 ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารทางไกลได้
3.10 สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานการพิมพ์ (Desktop Publishing)
3.11 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสมได้

4. การประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษา
4.1 บอกการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาที่สำคัญๆ ได้ เช่น การใช้เพื่อช่วยสอน การใช้เพื่อการบริหารและการจัดการ การใช้ในโทรคมนาคม เป็นต้น
4.2 สามารถอธิบายคุณลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์
4.3 สามารถอธิบายการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบงานด้านการบริหารและการจัดการทางการศึกษาได้
4.4 สามารถอธิบายการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองสถานการณ์เพื่อการเรียนการสอนได้
4.5 บอกภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถประยุกต์ใช้งานทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
4.6 สามารถอธิบายโปรแกรมการสอนคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิผล
4.7 สามารถออกแบบและหรือเลือกและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนได้
4.8 สามารถบอกวิธีการต่างๆ ในการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนได้

5. การประเมินและการเลือก
5.1 บอกได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ลักษณะใด ที่จำเป็นและเหมาะสมกับงานแต่ละประเภท
5.2 บอกเกณฑ์การประเมินเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ และเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เป็นประโยชน์ต่องานเฉพาะด้านได้

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming) หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์ โดยใช้ทักษะการเขียนภาษาโปรแกรม
1. ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหา
1.1 มีความเข้าใจว่า โดยทั่วไปแล้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหา
1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา และเลือก/พัฒนายุทธศาสตร์การแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

2. Algorithms/ ผังงาน
2.1 อธิบายและเขียนระบบการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและผังงานได้
2.2 สามารถอ่านระบบการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนหรือผังงานและวิเคราะห์ข้อมูลที่ให้จากผังงานนั้น
2.3 สามารถอธิบายสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสอนผังงานได้
2.4 แสดงให้เห็นประโยชน์ของผังงานในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
2.5 สามารถพัฒนาระบบการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและผังงานในการแก้ปัญหาได้

3. ภาษาคอมพิวเตอร์
3.1 อธิบายและบอกความแตกต่างระหว่างภาษาระดับต่างๆ เช่น Machine, Assembly, High-level, Authoring กับสิ่งที่เกี่ยวข้องได้ (เช่น Compiler, Interpreter)
3.2 อธิบายภาษาขั้นสูงในการโปรแกรม และความแตกต่างระหว่างภาษาต่างๆ ได้ เช่น BASIC, PASCAL, COBOL, FORTRAN, LOGO, HyperCard, Hypertext
3.3 สามารถใช้ระบบโปรแกรมภาษาบทเรียน (Authoring Language Systems) ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์พื้นฐานแบบปฏิสัมพันธ์ได้

4. การใช้โปรแกรม
4.1 สามารถใช้ศัพท์เทคนิคในการเขียนโปรแกรมได้ เช่น Variable, String, Variable, Linear programming, Branched Programming, Bug, Debug, Coding, Syntax, Looping, Object-oriented, Systems Analysis, Systems Design, Functional Specifications.
4.2 บอกขั้นตอนการสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขั้นแรก (กำหนดปัญหา) ไปจนถึงขั้นสุดท้าย (การนำไปใช้) ได้
4.3 เข้าใจระบบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ User-oriented
4.4 อธิบายลักษณะการโปรแกรมแบบ Structure/Modular Programming ได้
4.5 สามารถอ่านโปรแกรมง่ายๆ ได้
4.6 เข้าใจลักษณะของโปรแกรมที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.7 สามารถโยงความเข้าใจการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนหรือ ผังงานไปสู่การโปรแกรมโดยใช้ภาษาขั้นสูงได้
4.8 สามารถบอกข้อผิดพลาด (Error : Syntax and Logic) และแก้ไข (Debug) โปรแกรมที่กำหนดให้ได้
4.9 แก้ไขปรับปรุง (Modify) โปรแกรมที่บุคคลอื่นสร้างได้
4.10 สามารถเขียนโปรแกรมง่ายๆ โดยใช้ภาษาขั้นสูงได้ เช่น BASIC, PASCAL, LOGO เป็นต้น

สมรรถนะด้านเจตคติการรู้คอมพิวเตอร์ (Attitudinal Computer Literacy Competencies)
1. มี (แสดง) เจตคติทางบวก (ที่ดี) ต่อการใช้คอมพิวเตอร์
2. มีความรู้สึกมั่นใจต่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทั้งที่บ้าน โรงเรียน และสภาพทั่วๆ ไป
3. รู้สึกสบายใจเมื่อใช้คอมพิวเตอร์
4. ยอมรับว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาที่เร็วและถูกต้องแม่นยำ
5. มีความปรารถนาที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในงานของโรงเรียน ชีวิตส่วนตัว
6. มีความประทับใจศักยภาพที่คอมพิวเตอร์ให้ในด้านความเป็นส่วนตัว
7. มีเจตคติด้านความรับผิดชอบต่อการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรม
8. มีเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ว่า คอมพิวเตอร์ไม่ต้องรับผิดชอบ ในกรณีที่มีข้อผิดพลาด แต่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรรับผิดชอบต่อการใช้คอมพิวเตอร์
9. ไม่รู้สึกกลัวหรือเสียขวัญเมื่อใช้คอมพิวเตอร์