วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา


ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมืออิเลกทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลข ตัวอักษร และรูปภาพได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนของโปรแกรม


ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการมาจากอุปกรณ์ช่วยคิดคำนวณของชาวจีน ต่อมามีผู้สร้างเครื่องที่ใช้รหัสในการบันทึกข้อมูล และใช้บัตรในการป้อนข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการใช้งานตั้งแต่ ค.ศ. 1940 เป็นต้นมา และมีผู้ประดิษฐ์และพัฒนาเรื่อยต่อมา จนแบ่งออกเป็น 5 ยุค ด้วยกันได้แก่


* ยุคแรก เริ่มในช่วง ค.ศ.1652 ยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ มีาขนาดใหญ่ และราคาแพง

* ยุคที่ 2 ระหว่าง ค.ศ.1959 – 1964 มีการนำทรานซิสเตอร์มาใช้ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง มีการคิดค้นภาษาฟอร์แทน (Fortran) เพื่อใช้สร้างโปรแกรมสำหรับใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
* ยุคที่ 3 ระหว่าง ค.ศ.1965 – 1969 มีการประดิษฐ์คิดค้น Integrated Circuit หรือ IC ทำให้ส่วนประกอบต่างของวงจรต่างๆ วางลงบนแผ่นชิป (Chip) เล็กๆ ได้นำมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้เนื้อที่วงจรประหยัดเนื้อที

* ยุคที่ 4 ระหว่าง .ศ.1970 – 1980 เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำ LST(Large cale Integrated) มาใช้ ทำให้สามารถย่อ IC ข้าในวงจรเดียวกัน ยุคนี้เริ่มเรียกคอมพิวเตอร์ว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีขนาดเล็กและราคาไม่แพง และมีความสามารถสูง ทำงานได้รวดเร็ว
* ยุคที่ 5 ค.ศ.1980 – ปัจจุบัน มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ในรูปแบบปัญญาประดิษฐ์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ



ชนิดของคอมพิวเตอร์
1.ไมโครคอมพิวเตอร์ Microcomputer or PC : Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กใช้งานในธุรกิจขนาดเล็ก งานส่วนตัวหรือในวงการศึกษา ปัจจุบันมี PC ขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้เรียกว่า NoteBook หรือ Powerbook
2. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini-computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนากลาง ใช้ในงานขนาดกลางทั่วไป
3. เมนแฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe-computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานขนาดใหญ่มาก เช่น ในกองทัพของสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการคำนวณยิงขีปนาวุธ



ลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์
ลักษณะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วย (Units)ที่ทำหน้าที่ต่างกัน
4หน่วย คือ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นตัวกลางในการรับข้อมูลผ่านอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น แป้นพิมพ์ และสแกนเนอร์ โดยพิมพ์หรือวาดรูป เข้าไปในเครื่อง
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ซึ่งจะควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่อง

3.หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ เครื่องไว้ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ

3.1 ROM(Read Only Memory)เป็นหน่วยความจำหลักที่ทำหน้าที่อ่านข้อมูลเพียงอย่างเดียว

3.2 RAM (Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำรองที่ทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งหากเราปิดเครื่องจะทำให้ข้อมูลสูญหายได้
3.3 หน่วยความจำ(Memory) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ เครื่องไว้ ซึ่งมี 2ชนิดคือ
4. หน่วยแสดงผล(Output)เป็นการนำผลลัพธ์ ที่ผ่านการดำเนินการตามกรรมวิธีจากหน่วยความจำ แสดงออกมาในรูปแบบที่อ่านเข้าใจได้ง่าย อาจจะอยู่ในรูปรายงาน ตาราง กราฟ หรือรูปภาพโดยผ่านอุปกรณ์แสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ เป็นต้น



องค์ของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ

1. ฮาด์แวร์ (Hardware) หมายถึงเครื่องมือต่างๆ ที่สร้างหรือออกแบบมาเพื่อใช้ดำเนินการตามกรรมวิธีของคอมพิวเตอร์
2. ซอฟแวร์ (Software) คือชุดของคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานคอมพิวเตอร์
3. บุคลากร (Peopleware) หมายถึงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
1.คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for Education Administration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นต้น
2.คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึงการบริการการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา

3.คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ
4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และ ICT

''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการศึกษา

คอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนามาเป็นยุคตั้งแต่ ค.ศ.1952 และเมื่อทศวรรษ 1960 นักการศึกษาก็เริ่มทดลองในเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการเรียนการสอน และทดลองต่อเนื่องจนเมื่อคอมพิวเตอร์พัฒนาเป็นมินิคอมพิวเตอร์ในทศวรรษที่ 1970 และในปลายทศวรรษที่ 1970 ไมโครคอมพิวเตอร์ก็ถือกำเนิดขึ้น และพัฒนาเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว พร้อม ๆ กับพัฒนาการของระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน โดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด และแบบทดสอบจะถูกพัฒนาขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ

1. 1) สามารถเรียนแบบการสอนได้ และ
1. 2) มีสมรรถภาพในการรวบรวมสารสนเทศและข้อมูลต่าง ๆ

2. หลักการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประกอบด้วย

2.1 ใช้เป็นรายบุคคล (Individualized) ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ออกแบบเพื่อใช้ส่วนบุคคล นับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผลดีที่สุด
2.2 มีการตอบโต้อย่างทันที (Immediate Feedback)
2.3 เป็นกระบวนการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน (Track Learners Process)
2.4 ปรับให้ทันสมัยได้ง่าย (Each of Updating)
2.5 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไม่สามารถทำงานได้ทุกอย่างเหมือนคน ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาเป็นส่วนนึ่งหรือช่วยสอนเท่านั้น การแก้ปัญหาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเขียนโปรแกรมให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา
2.6 การเขียนโปรแกรมที่ดีต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เชื่อว่า มนุษย์และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอกโครงสร้างบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear) โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว

2. ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) พฤติกรรมมนุษย์เป็นเรื่องของจิตใจ ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา (Branching) ของคราวเดอร์ (Crowder)
3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้Schema Thory) โครงสร้างภายในของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นเหมือนโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ ๆ ไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้เดิม (Pre-existing Knowledge)
4. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory) เพื่อตอบสนองโครงสร้างขององค์กรความรู้ที่แตกต่างกัน

จิตวิทยาเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับ การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์
1. ความสนใจและการรับรู้อย่างถูกต้อง (Attention and Perception)
2. การจดจำ (Memory)
3. ความเข้าใจ (Comprehension)
4. ความกระตือรือร้นในการเรียน (Active Learning)
5. แรงจูงใจ (Motivation)
6. การควบคุมบทเรียน (Learner Control)
7. การถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Learning)
8. ความแตกต่างรายบุคคล (Individual Difference)

สรุป
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีการตอบโต้กันได้ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับการเรียนการสอนระหว่างครูกับผู้เรียนที่อยู่ในห้องเรียนปกติ และยังสามารถตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปได้ทันท่วงที ช่วยเสริมแรงให้แก่ผู้เรียน ในขณะนี้มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกันอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย


.


บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการสอน
***ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา และความสำคัญนี้ได้ทวีมากยิ่งขึ้นในอนาคต คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีบทบาทในทุกวงการอาชีพ โดยเฉพาะกับงานที่มีข้อมูลมาก ๆ และกำลังจะกลายเป็นเครื่องใช้สามัญในบ้านเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่าง ๆ จำแนกได้ดังนี้
1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาคอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหาร เช่น การคิดคะแนน ทำทะเบียนบุคลากร คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริการ เช่น งานห้องสมุด งานแนะแนว คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน
2. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงาน คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณโครงสร้าง วางแผน ควบคุมการก่อสร้าง
3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการเปรียบเทียบ คัดเลือกข้อมูล คอมพิวเตอร์ช่วยในการทดลองที่เป็นอันตราย คอมพิวเตอร์ช่วยในการเดินทางของยานอวกาศ การถ่ายภาพระยะไกล และการสื่อสารผ่านดาวเทียม
4. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจคอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนธุรกิจ คอมพิวเตอร์ช่วยในการประเมินสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ คอมพิวเตอร์ช่วยงานธุรการ เช่น งานพัสดุ งานภาษี การทำจดหมายโต้ตอบ
5. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคารคอมพิวเตอร์ช่วยในการรับฝากและถอนเงิน ที่เป็นภารกิจประจำของธนาคาร คอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆ คอมพิวเตอร์ช่วยให้ลูกค้า ฝากถอนเงินด่วน หรือโอนเงินจากเครื่องได้โดยอัตโนมัติ (ATM)
6. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีกห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คิดเงินแทนเครื่องคิดเลข การอ่านรหัสด้วยเครื่องอ่าน (Barcode)
7. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบออกมาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
8. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์คอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึก ค้นหาทะเบียนประวัติผู้ป่วย คอมพิวเตอร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น ตรวจคลื่น สมอง บันทึกการเต้นของหัวใจ คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้อง ของอวัยวะก่อนการผ่าตัด
9. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และสื่อสารคอมพิวเตอร์ช่วยในการจองตั๋วเครื่องบิน คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บข้อมูล สถิติของผู้โดยสาร คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการจราจรทางอากาศ
10. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนการผลิต และควบคุมการผลิต คอมพิวเตอร์ช่วยโรงงานกลั่นน้ำมัน ตรวจวัดการส่ง น้ำมันดิบ คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการส่งแก๊สธรรมชาติ ไปตามท่อ โดยมีระบบควบคุมความดันของแก๊ส
11. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการคอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์ คอมพิวเตอร์ช่วยในการนับคะแนนเลือกตั้ง คิดภาษี อากร การบริหารทั่วไป คอมพิวเตอร์ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและสถิติ การบริหารงานทั่วไปของหน่วยงานราชการ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขั้น
ที่มา: http://www.promma.ac.th/COMPUTER/techno/History/kind.html


1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อทบทวนบทเรียน (Tutor) บางรายวิชาเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทบทวนบทเรียนได้ในโปรแกรมทบทวนบทเรียนคอมพิวเตอร์จะเสนอสิ่งเร้า อาจจะเป็นข้อความ คำถาม รูปภาพหรือกราฟิก และอื่นๆ ที่เร้าให้ผู้เรียนตอบสนองและมีการประเมินผล
2. การใช้เป็นเครื่องมือ (Tool) คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนได้ เช่น ใช้ในการคำนวณ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติ และการสร้างกราฟจากข้อมูล เป็นต้น
3. ใช้เป็นเครื่องฝึก (Tutee) การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องฝึกจะทำให้ครูและผู้เรียนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงการสร้างโปรแกรมหรือการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงดร. ไชยยศ เรืองสุวรรณ http://vod.msu.ac.th/0503760

***1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการสอน :
1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อทบทวนบทเรียน (Tutor) บางรายวิชาเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทบทวนบทเรียนได้ในโปรแกรมทบทวนบทเรียนคอมพิวเตอร์จะเสนอสิ่งเร้าอาจจะเป็นข้อความ คำถาม รูปภาพหรือกราฟิกและอื่นๆ ที่เร้าให้ผู้เรียนตอบสนองและมีการประเมินผล
2. การใช้เป็นเครื่องมือ (Tool) คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนได้เช่น ใช้ในการคำนวณ การประมวลผลข้อมูลการวิเคราะห์ทางสถิติ และการสร้างกราฟจากข้อมูล เป็นต้น
3. ใช้เป็นเครื่องฝึก (Tutee)
การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องฝึก จะทำให้ครูและผู้เรียนได้เรียนรู้และมี ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงการสร้างโปรแกรมหรือการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
4 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม คอมพิวเตอร์สามารถจะทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบจนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่างๆ ตลอดจน ช่วยคำนวณโครงสร้าง ช่วยในการวางแผน และควบคุมการสร้าง
5 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารเคมีเครื่องมือการทดลองต่าง ๆ แม้กระทั่งการเดินทางของยานอวกาศต่างๆ การถ่ายพื้นผิวโลกบนดาวอังคาร เป็นต้น
6. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็วและถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการ ดำเนินธุรกิจตลอดจนงานทางด้านเอกสารงานพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น
7 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร ในแวดวงธนาคารนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด เพราะธนาคารจะมีการนำข้อมูล <> เป็นประจะทุกวัน การหาอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ นอกจากนี้การใช้บริการ ATMซึ่งลูกค้าสามารถฝากถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งทำให้สะดวกแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่งและเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน
8 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก ปัจจุบันเห็นได้ว่า ได้มีธุรกิจร้านค้าปลีกหรือที่เรียกว่า "เฟรนไซน์" เป็นจำนวนมาก ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการให้บริการลูกค้า เช่น ให้บริการชำระ ค่าน้ำไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีการ online ระหว่างร้านค้าเหล่านั้นกับหน่วยงานนั้นๆ เพื่อสามารถตัดยอดบัญชีได้ เป็นต้น
9. บทบาทคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ควบคุมการรับและจ่ายยาตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด บันทึกการเต้นของหัวใจ ตรวจคลื่นสมอง และด้านการหาตำแหน่งของอวัยวะก่อนการผ่าตัดเป็นต้น
10 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสาร ในยุคปัจจุบัน เราเรียกว่าเป็นยุคที่เป็นการสื่อสารแบบไร้พรมแดน จะเห็นได้ว่ามีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆในเครือข่ายสาธารณะที่เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถที่จะสื่อสารกับทุกคนได้ทั่วมุมโลกโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้และยังมีโปรแกรมที่สามารถจะใช้ในการพูดคุยกันได้ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันใช้คุยกันหรือจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารกับเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านหรือที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการส่ง pager ในปัจจุบันสามารถส่งทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องลูกได้ เป็นต้น สำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางโทรคมนาคมจะเห็นว่าปัจจุบันการจองตั๋วเครื่องบินจะมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการจองตั๋วผ่านทาง Internet ด้วยตนเอง เห็นได้ว่าเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการ และนอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายของสายการบินทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกจองได้ตามสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น
11 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิตกำหนดเวลาการผลิต จนกระทั่งถึงการผลิตสินค้าควบคุมระบบ การผลิตทั้งหมด ในรายงานทางอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการ ทำงานของเครื่องจักร เช่น การเจาะ ตัดไส กลึง เป็นต้น ตลอดจนโรงงานผลิตรถยนต์ ก็จะใช้หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ในการทาสี พ่นสี รวมถึงการประกอบรถยนต์ เป็นต้น
12 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฎร์ช่วยในการนับคะแนนการ เลือกตั้ง และการประกาศผลเลือกตั้งการคิดภาษีอากร การเก็บข้อมูลสถิติสัมมโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าใช้โทรศัพท์ เป็นต้น
เรียบเรียงโดย : มันทนา ไปเร็ว, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

***แนวทางการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในการสอน
ส่วนใหญ่มีความเข้าใจกันว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการศึกษา หมายถึง คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนเท่านั้น ซึ่งความคิดนี้ไม่ถูกต้อง การที่คนทั้งหลายคิดเช่นนี้ อาจเป็นเพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ
1. การขาดการรู้หรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และด้วยความเชื่อว่า คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมและให้ข้อมูลสารสนเทศทุกอย่างได้
2. เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนได้ถูกพัฒนาให้สามารถสอนบางเนื้อหาของรายวิชาที่สามารถตอบสนองต่อจุดประสงค์ของเนื้อหานั้นๆ ได้ดีจึงทำให้ผู้คนมองเห็นจุดเด่นของการนำคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนมาใช้ความคิดดังกล่าวย่อมส่งผลเสียต่อไป ถ้ายังมองเห็นเพราะการใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษานั้นสามารถใช้ได้กว้างขวาง การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาเป็นเพียงคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ส่วนการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนนั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ และจะใช้ได้ผลดีถ้าใช้ในการเสริมการเรียนการสอน และเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเล็กหรือแบบเอกัตบุคคล เป็นความเข้าใจที่ผิดในการคิดว่า คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนสามารถทำการสอนแทนครูได้โดยตลอด ผู้ที่มีความเข้าใจเช่นนี้เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและความสามารถของคอมพิวเตอร์ในด้านการโต้ตอบกับผู้ใช้และขาดความเข้าใจธรรมชาติ
ดร.ไชยศ เรืองสุวรรณ

*****การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (Multimedia CAI)
การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบมัลติมีเดียสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากเน้นในเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบทเรียนควรมีการต้องคำถามว่าอะไรคือการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ในบทเรียนที่จะนำเสนอและมีระดับของกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระดับใด อาจเป็นการกำหนดให้ผู้เรียนเรียนที่ละขั้นอย่างรู้ผลการเรียนแต่ละขั้นตามลำดับ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับไฮเปอร์มีเดีย ในลักษณะเชื่อมโยง(Link) หรือมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะรูปแบบเต็มของการมีส่วนร่วมเสมือนผู้เรียนที่ไปอยู่ในสถานการณ์การเรียนที่กำหนดขึ้น นอกจากเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์แล้วการพัฒนาต้องคำนึงถึงการออกแบบบทเรียน CAI ระบบมัลติมีเดียว่าจะกำหนดให้เป็นแบบเส้นตรง (Lisecar) หรือแบบสาขา (Branching) ซึ่งมีทั้งแบบ Simple และแบบ Complex โดยการพัฒนาโปรแกรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องทำความตกลงให้เป็นที่เข้าใจตรงกันโดยยึดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบทเรียนและหลักการของกระบวนการจิตวิทยา (Cognition psychology) เป็นหลักการพัฒนาบทเรียนช่วยสอน (CAI) ระบบมัลติมีเดีย

****การพัฒนาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียพรีเซ็นเตชั่นทางการศึกษา (Computer Multimedia Presentation)การพัฒนาบทเรียนหรือเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียพรีเซ็นเตชั่น เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่จะนำเสนอเนื้อหาข้อความ ภาพนิ่งหรือสไลด์, ภาพเคลื่อนไหว (Animation) วีดีโอ, เสียงประกอบ สำหรับใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนที่ผู้สอนเป็นผู้บรรยาย และใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียพรีเซ็นเตชั่น ประกอบการบรรยายบทเรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และตามรูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยนำหลักปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน, คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียพรีเซ็นเตชั่นและผู้เรียนมาใช้เป็นสถานการณ์ในการนำเสนอ โดยทั่วไปปัจจุบันมักใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ Power Point Presentationเป็นโปรแกรมหลักในการนำเสนอ (Presentation) บทเรียนสำหรับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดียพรีเซ็นเตชั่นทางการศึกษานี้ต้องคำนึงถึงรายละเอียดในการพัฒนารูปแบบของมัลติมีเดียในส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. ในด้านเนื้อหาของบทเรียน การพัฒนาน้องสามารถทำให้ผู้ดูมีความเชื่อในเนื้อหาให้ข้อเท็จจริงของเนื้อหาและกำหนดรูปแบบการนำ เสนอเนื้อหาในการสอนในเป็นตามลำดับขั้นตอน
2. การพัฒนาควรเอาข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ หรือเสียงประกอบเอามารวมกันให้เกิดความเหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาหรือเรียกร้องความสนใจ
3. การพัฒนาควรเชื่อมโยงข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ หรือเสียงประกอบมาเชื่อมโยงกันในการนำเสนอเป็นลำดับขั้นตอนที่กำหนด
4. การพัฒนาควรคำนึงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างที่มีการสอนบรรยาย กับการใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่จัดทำขึ้นต่อผู้เรียน
5. การพัฒนามีการใช้เสียงประกอบเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือนำเสียงของจริงเข้ามาประกอบในสถานการณ์นำเสนอเนื้อหา
http://www.library.stjohn.ac.th/


*****ความสำคัญของครูต่อคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน
ฮาร์ดเล่ย์ (Hartley. 1980 : 130) ได้กล่าวถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนคอมพิวเตอร์และครู ดังนี้ "ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนแบบทบทวนที่ใช้คำถามเป็นสิ่งเร้าผู้เรียน จะต้องปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการที่คอมพิวเตอร์เสนอคำถามผ่านทางจอภาพและให้ผู้เรียน ตอบสนองผ่านทางแป้นพิมพ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะประเมินการตอบสนองของผู้เรียนให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและนำข้อมูล การตอบสนองของผู้เรียนได้จากข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนเก็บไว้ ในแผ่นดิสก์ จากนั้นก็จะพิจารณาเนื้อหาต่างๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนไปแล้วว่า แต่ละหัวข้อเนื้อหามีความยากง่ายเหมาะสมดีหรือไม่ แล้วจึงปรับปรุงโปรแกรม โดยพิจารณาจากผลการตอบสนองของผู้เรียนที่อาจ แสดงถึงความเข้าใจเนื้อหาในบางตอนหรือครูอาจแก้ไขลำดับเนื้อหาที่ยังไม่เหมาะสมต่อไป" นอกเหนือจากที่ฮาร์ดเล่ย์อธิบายไว้ข้างต้น ซึ่งครูจะต้องปฏิบัติเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียน การสอนแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่ครูจะต้องรับผิดชอบ เช่น การเลือกโปรแกรมที่จะนำมาใช้พิจารณาถึง ความเหมาะสมของโปรแกรมกับผู้เรียน วัสดุที่ใช้สนับสนุนโปรแกรม การวางแผนจัดกลุ่มผู้เรียนเพื่อทำ กิจกรรมและการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านของผู้เรียน (ถ้ามี) สิ่งเหล่านี้เป็นภารกิจที่ครูจะต้องปฏิบัติ เมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์ในชั้นเรียน นอกจากนี้ ครูยังจะต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องเทคนิคคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาการใช้คอมพิวเตอรได้ในบางโอกาส สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ลดคุณค่าและสถานภาพ ความเป็นครูลงแต่อย่างใด แต่จะช่วยเพิ่มคุณภาพของครูให้สมบูรณ์แบบครบถ้วนยิ่งขึ้น ในบางครั้ง ครูก็จะต้องปฏิบัติเหมือนกับเป็นนักวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนที่ใช้สิ่งต่างๆ มาจำลองเข้ากับบทบาทของตนเอง ในอนาคต บทบาทของครูอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่มิได้ลดคุณค่าและสถานภาพของครูลง แต่อย่างใด ในขณะที่สิ่งท้าทายความสามารถของครูในขณะนี้คือ การนำระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชนต่อการเรียนการสอนให้มากที่สุด และสิ่งที่ท้าทายต่อไปก็คือ ครูจะต้องเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอนได้อย่างเต็มความสามารถ
ดร.ไชยยศ เรืองสุวรรณ

******รูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนอาจมีหลายวิธี ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับรูปแบบและประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนมีอยู่หลายรูปแบบที่สำคัญ ได้แก่ 1. แบบบทเรียนโปรแกรม (Programmed-Instruction Based CAI) เป็นการนำเอาวิธีการสร้างบทเรียนโปรแกรมมาพัฒนาเป็นบทเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยการเปลี่ยนรูปแบบของบทเรียนโปรแกรมที่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์หรือวัสดุที่ใช้กับเครื่องสอน (Teaching Machine) มาเป็นโปรแกรมที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.1 โปรแกรมแบบการฝึกและการปฏิบัติ โปรแกรมลักษณะนี้ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนได้ฝึกทักษะพิเศษบางอย่างด้วยเทคนิคที่เรียกว่า การฝึกและการปฏิบัติ (Drill- and-Practice Program) คือ การฝึกทักษะซ้ำๆ กันจนผ่านเกณฑ์จึงฝึกขั้นสูงต่อไป ตัวอย่างทักษะที่สามารถฝึกด้วยโปรแกรมนี้ ได้แก่ การจับคู่สิ่งของ การใช้คำต่างๆ การฝึกสะกดคำ เป็นต้น 1.2 โปรแกรมแบบทบทวน (Tutorial Program) โปรแกรมแบบนี้ค่อนข้างจะมีบทบาทในการใช้น้อย เพราะเราจะใช้เป็นเพียงโปรแกรมเพื่อนำเข้าสู่ทักษะใหญ่ในรายวิชาเสียมากกว่าที่จะเน้นการฝึกทักษะส่วนย่อย และใช้ทบทวนหรือสรุปบทเรียนบางเรื่องในรายวิชาเท่านั้น 2. แบบปัญญาประดิษฐ์ (Artifical-Intelligent-Based) "ปัญญาประดิษฐ์" มาจากภาษาอังกฤษว่า "Artificial Intelligent" หมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์มีความรู้และกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยการเลียนแบบมนุษย์คล้ายกับคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนแบบบทเรียนโปรแกรม แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันคือ สามารถแก้ปัญหาและแสดงกระบวนการในบางเรื่องได้โดยการเลียนแบบความคิดมนุษย์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น 3. แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation-Oriented CAI) คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนแบบนี้ จะจำลองสถานการณ์ สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขต่างๆ ให้นักเรียน จนได้ฝึกทักษะอย่างใกล้เคียงกับความจริง 4. แบบใช้เป็นเครื่องมือ (Tool Applications) การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือก็สามารถเพิ่มคุณค่าในการเรียนการสอนได้ เช่น เป็นเครื่องมือช่วยในการพิมพ์แทนพิมพ์ดีด การคำนวณ ทดสอบ และใช้วิเคราะห์ค่าทางสถิติ เป็นต้น
ดร. ไชยยศ เรืองสุวรรณ

*******คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีใช้และผลิตกันอยู่ทั่วไป สามารถจำแนกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งาน และวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิชา ได้ดังนี้
1. การฝึกทักษะ หรือการฝึกปฏิบัติ ( Drill and Practice)
ใช้สำหรับฝึกหัด ทบทวน เรื่องที่เรียนผ่านมาแล้วเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อเพิ่มความชำนาญความแม่นยำในเนื้อหาโดยคอมพิวเตอร์จะนำเสนอในรูปแบบของแบบฝึกหัดหรือโจทย์ทีละข้อเพื่อเปรียบ เทียบ คำตอบของนักเรียนกับคำตอบที่ถูกต้อง ถ้าผู้เรียนตอบผิดในคำตอบแรก คอมพิวเตอร์จะถามในคำถามเดิม ถ้า ครั้งที่สอง ยังตอบผิด คอมพิวเตอร์จะเฉลยคำตอบ แล้วจึงจะเสนอแบบฝึกหัดหรือโจทย์ในข้อถัดไปหรือถามคำถาม เดิม จนกว่า ผู้เรียนจะตอบถูก จึงจะเสนอคำถามในข้อถัดไป โปรแกรมการฝึกทักษะจึงเป็นที่นิยมแพร่หลายที่สุด เพราะเป็นบทเรียน ที่สร้างง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก

2. การจำลองสถานการณ์ ( Simmulation )
เป็นการจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงให้นักเรียนศึกษาอย่างใกล้ชิด เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ใช้ทักษะในการตัดสินใจแบบต่าง ๆ และเห็นผลของการตัดสินใจนั้น โปรแกรมประเภทนี้ มักจะใช้ในการ ฝึก ปฏิบัติ สิ่งที่ไม่อาจฝึกด้วยของจริง เช่น การทดลองที่เป็นอันตรายหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก การเสนอ สถานการณ์จำลองของระบบสุริยะจักรวาล มีดาวเคราะห์อะไรบ้างที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ในโปรแกรมนี้จะมี การ หมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ด้วย จึงเหมาะสำหรับการสอนเนื้อหาที่ศึกษาจากของจริงโดยตรง เป็นไปได้ยากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หรือเป็นอันตราย

3. การสอนแบบเนื้อหา ( Tutorial ) มีลักษณะคล้ายบทเรียนโปรแกรมที่มีทั้งคำอธิบายและคำถามให้เลือกตอบได้ในขณะเรียน ซึ่งคำถามอาจเป็นในรูปแบบของแบบเลือกตอบ หรือเติมคำ หรือแบบถูกผิด และให้ผลย้อนกลับสำหรับผู้เรียนได้ทันที่ โปรแกรมประเภทนี้ส่วนมากใช้สอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์หรือมโนทัศน์ ( Concept) ใหม่ ๆ เป็น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้สอนแทนครูเฉพาะในเนื้อหาบางตอน โดยเสนอเนื้อหาความรู้เป็นเนื้อหาย่อย ๆแก่ผู้เรียน นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาที่มีคำถามแทรกอยู่เป็นระยะ ๆ โดยนักเรียนจะตอบไปตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนอยู่โดยโปรแกรมบทเรียนจะตอบคำถามนั้น ๆ และประเมินคำตอบของนักเรียนที่บันทึกไว้ในการเสนอเนื้อหาบทเรียนใหม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคำตอบ ของนักเรียน ว่า มีความรู้ความเข้าใจเพียงใด ข้อดีของโปรแกรมนี้ คือ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเรื่องที่ตนถนัด และตามความ สามารถ ของผู้เรียน เพราะลักษณะของบทเรียนจะแยกออกเป็นตอนย่อย ๆ

4. การทดสอบ ( Testing )
เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทดสอบ โดยให้ผู้เรียนทำการสอบ แบบมีปฏิสัมพันธ์ กับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการวัดผลการเรียนการสอน ซึ่งทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนานตื่นเต้น และน่าสนใจ โดย คอมพิวเตอร์จะเสนอคำถามทีละข้อซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกตอบคำถามข้อใดก่อนหลังก็ได้ และท้ายที่สุด โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะตัดสินคำตอบทั้งหมดให้กับผู้เรียน แจ้งผลคะแนนและจัดลำดับให้ทราบทันที อีกทั้งยังสามารถบันทึกผลคะแนนเพื่อให้ทราบความก้าวหน้าอีกด้วย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก

5. เกมเพื่อการสอน ( Instructional Game)
เป็นการใช้เกมเพื่อการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่มาก เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ อยากเรียนผู้เรียนจึงได้รับความรู้ ทักษะ และความสนุกสนานไปในตัว บทเรียนแบบนี้มีคุณประโยชน์คล้ายกับ แบบ สถานการณ์จำลองตรงที่ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาที่เสนอให้ทั้งหมด บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เป็นบทเรียนและเครื่องมือประกอบการสอนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งให้ ความตื่นเต้น สนุกสนาน แต่มีจุดมุ่งหมายชัดเจนในการเรียนรู้

6. การแก้ปัญหา (Problem-Solving )
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด รู้จักการตัดสินใจ โดยมีการกำหนดเกณฑ์ให้ผู้เรียนเรียนไปตามเกณฑ์นั้นโปรแกรมการแก้ปัญหานี้ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ โปรแกรมที่ให้ ผู้เรียนเขียนเอง และโปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้ว เพื่อช่วยผู้เรียนในการแก้ปัญหา โปรแกรมที่ผู้เรียนเขียนเองจะกำหนดปัญหาและเขียนโปรแกรม สำหรับ การแก้ปัญหานั้น โดยที่คอมพิวเตอร์จะช่วยในการคิดคำนวณและหาคำตอบที่ถูกต้องให้ แต่ถ้าเป็นการแก้ปัญหา โดยใช้โปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้ว คอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณขณะที่ผู้เรียนเป็นผู้จัดการกับปัญหาเหล่านั้น
สรุป การสร้างและการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ผู้สอนต้องศึกษารายละเอียด และ ลักษณะ เฉพาะอย่าง ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแต่ละรูปแบบให้ดีว่ามีคุณลักษณะเด่นในด้านใด โดยคำนึงถึง จุดประสงค์ ในการเรียนการสอนเป็นหลัก รวมถึงลักษณะเนื้อหาวิชา และความพร้อมของผู้เรียนด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไม่สามารถสอนแทนครูได้ ทั้งหมดซึ่งอาจเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นตามที่ได้เสนอเนื้อหาไปแล้ว อย่างไรก็ตามการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนต้องพัฒนาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด และประยุกต์เอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ถ้าผู้อ่านได้ศึกษารายละเอียด เพื่อความเข้าใจพื้นฐานและหลักการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้วเชื่อแน่ว่าคุณจะเป็นผู้สร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เชี่ยวชาญ คนหนึ่ง
http://www.rmu.ac.th/


*****คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่างการนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง

2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3. การโต้ตอบ (Interaction) คือ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback)ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ดร. ไชยยศ เรืองสุวรรณ


*****คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในประเทศไทย ครรชิต มาลัยวงศ์ (2534 : 8) กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวในการนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ช่วยการเรียนการสอนนั้น เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากในหมู่ครูอาจารย์และนักคอมพิวเตอร์ หลายกลุ่ม การเป็นเช่นนี้ นับว่าเป็นไปตามธรรมชาติเพราะขณะนี้ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีราคาถูกกว่าเมื่อหลายปีก่อน ความสามารถทางด้านกราฟิก และเสียงก็ดีกว่า โปรแกรมต่างๆ มีผู้ผลิตขึ้นจำหน่วย มีคุณลักษณะที่เด่นมากขึ้น อำนวยให้แนวคิดในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ชัดเจนขึ้น และจะทำจริงในเชิงปฏิบัติ
ดร. ไชยยศ เรืองสุวรรณ


'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''

เวิร์ดโปรเซสเซอร์
ลักษณะโดยทั่วไปของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ให้เราลองนึกถึงการตรวจแก้ไขหนึ่งครั้ง ก็หมายถึงจะต้องนำเอกสารนั้นกลับไปพิมพ์ใหม่เกือบทั้งหมดอีกหนึ่งชุด ดังนั้นยิ่งมีการตรวจแก้ไขหลายครั้งเท่าใด ก็ยิ่งจะต้องพิมพ์เอกสารนั้นใหม่เท่าจำนวนครั้งของการตรวจแก้ไข แม้ว่าในบางครั้งจะมีการแก้ไขเพียงบางส่วนของเอกสารก็ย่อมจะส่งผลต่อวรรคตอนและรูปแบบของเอกสารเกือบทั้งหน้าหรือทั้งชุด ทำให้ข้อจำกัดอันสำคัญของการตรวจแก้ไขเอกสารอยู่ที่การพิมพ์ใหม่ ถ้าลดข้อจำกัดนี้ลงได้ เราก็จะสามารถเพิ่มคุณภาพของเอกสารได้อีกมาก ทั้งยังเป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปกับการพิมพ์ใหม่อีกด้วยความคิดในการลดข้อจำกัดข้างต้น จะทำได้ก็โดยที่เราจะต้องแก้ไขเอกสารบางส่วนและให้ส่วนเดิมปะติดปะต่อเข้ากันได้เพื่อนำมาใช้ใหม่ ความคิดนี้ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีด แต่สามารถเป็นความจริงได้ถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเอกสาร โดยโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ จะทำให้เราสามารถพิมพ์ตัดต่อ แก้ไข ลบ ย้าย เปลี่ยนแปลงข้อความและอื่น ๆ อีกหลายประการ ทำให้ได้เอกสารที่มีคุณภาพโดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์เอกสารนั้นใหม่เมื่อมีการตรวจแก้ไขเวิร์ดโปรเซสเซอร์คืออะไรเวิร์ดโปรเซสเซอร์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกขนาด แต่สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้วการใช้เวิร์ดโปรเซสเซอร์เป็นที่นิยมแพร่หลายมากในกรณีนี้ เราสามารถจำแนกไมโครคอมพิวเตอร์ได้เลย ว่ามีอยู่ 2 ประเภท คือ
1) แบบที่ใช้งานกับโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์เพียงอย่างเดียว
2) แบบที่ใช้งานได้กับทั้งเวิร์ดโปรเซสเซอร์และโปรแกรมทั่วไป ซึ่งคอมพิวเตอร์ทั้งสองประเภทจะคล้ายคลึงกันในด้านอุปกรณ์ อันได้แก่ หน่วยประมวลผลแป้นพิมพ์ จอภาพ ระบบเก็บข้อมูลและเครื่องพิมพ์ แต่เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับงานเวิร์ดโปรเซสเซอร์โดยตรงนั้น จะแตกต่างจากไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปตรงที่มีอุปกรณ์บางอย่างได้รับการออกแบบ เพื่อใช้งานเวิร์ดโปรเซสเซอร์โดยเฉพาะ เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ เป็นต้น นอกเหนือจากนั้น ก็คล้ายคลึงกับไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป

การทำงานของเวิดร์โปรเซสเซอร์
หน้าที่สำคัญของเวิร์ดโปรเซสเซอร์มี 2 ประการ คือ แก้ไขเอกสาร (Editing)และจัดรูปแบบเอกสาร(Formatting)ในการแก้ไขเอกสารนั้นผู้ใช้สามารถพิมพ์ เพิ่ม ลบ ตัดต่อและดัดแปลงแก้ไขเอกสารได้ ส่วนจัดรูปแบบเอกสารนั้นผู้ใช้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงย่อหน้า เพิ่มหรือลดความกว้างของคอลัมน์ (Column) เพิ่มหรือลดระยะห่างระหว่างข้อความและอื่น ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้ใช้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือต่อเติม จะปรากฏให้เห็นบนจอภาพลงบนแผ่นกระดาษโดยเครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งเครื่องพิมพ์จะพิมพ์เอกสารที่เตรียมไว้ได้โดยถูกต้องและตรงตามที่ต้องการ นอกจากนั้นเครื่องพิมพ์โดยทั่วไปยังสามารถพิมพ์ตัวอักษรพิเศษได้ เช่น ตัวขยาย ตัวหนา ตัวเอน ตัวบีบ หรือการขีดเส้นใต้ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเน้นข้อความที่ต้องการในเอกสารได้เป็นอย่างดี ส่วนความเร็วในการพิมพ์นั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดและรุ่นของเครื่องพิมพ์

หน้าที่อื่นๆ
1. การค้นหาและแทนที่คำ (Search and Replace) เวิร์ดโปรเซสเซอร์จะสามารถทำหน้าที่ค้นหาคำหรือข้อความที่ผู้ใช้สั่งให้ค้นหาได้ และหากต้องการให้แทนที่คำนั้น ด้วยคำหรือข้อความใด ๆก็สามารถทำได้ โดยเวิร์ดโปรเซสเซอร์จะจัดการให้โดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่นในเอกสารที่กำลังตรวจแก้ไขมีคำว่า "ยอ" อยู่ประมาณ 100 คำเราต้องการเปลี่ยนให้เป็นคำว่า "ยอด" โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็จะจัดการให้ตามที่ต้องการในชั่วพริบตา โดยใช้วิธีการค้นหาและแทนที่คำของเวิร์ดโปรเซสเซอร์นั่นเอง
2. การตรวจสอบการสะกดคำ (Spelling Check) เป็นการเปรียบเทียบคำในเอกสารที่กำลังตรวจแก้ไขอยู่ กับพจนานุกรมที่เก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ถ้าพบว่า คำใดพิมพ์ไม่ถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็จะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบทางหน้าจอ และทำการแก้ไขให้เมื่อต้องการ ช่วยให้การพิมพ์เอกสารไม่ผิดพลาดและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
3. การออกจดหมายเวียน (Mailmerg) ในการเก็บข้อมูลไว้บนแผ่นดิสก์ เราจะจัดเก็บไว้เป็นกลุ่มข้อมูล หรือที่เรียกว่า ไฟล์ (File) ในการทำจดหมายเวียนถึงบุคลากรในหน่วยงานเราสามารถทำได้โดยเก็บชื่อ ตำแหน่ง และแผนกของบุคลากรในหน่วยงานไว้ในไฟล์หนึ่ง แล้วสร้างเอกสารประเภทจดหมายเพื่อการติดต่อกับบุคลากรในหน่วยงานไว้อีกไฟล์หนึ่ง แต่ในส่วนที่ต้องการใส่ชื่อ ตำแหน่ง และแผนก เราจะเว้นไว้ให้โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ทำให้ จากนั้น ก็ทำการออกจดหมายเวียน จดหมายที่ได้จะเจาะจงถึงบุคลากรนั้น ๆด้วยความสามารถของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ข้อนี้ จึงทำให้การออกจดหมายเวียนเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมาก

โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์เพื่อการศึกษา
ความเป็นมาตรฐานในปัจจุบันโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทเวิร์ดโปรเซสเซอร์ที่ได้รับความนิยมมากและเป็นต้นแบบของโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ทั้งหลายในปัจจุบัน คือ โปรแกรมไมโครซอร์ฟเวิร์ด เป็นโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ที่มีลักษณะการทำงานที่สมบูรณ์แบบ จนเป็นที่ยอมรับในวงการธุรกิจ และยอมรับว่าเป็น "มาตรฐานอุตสาหกรรม"ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จัดระบบการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หน่วยความจำ ลำดับของข้อมูล การเคลื่อนย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ การแสดงผล การทำงานของ CPU ฯลฯ เหล่านี้ จะต้องอาศัยระบบปฏิบัติการช่วยจัดหน้าที่การทำงานให้ทั้งสิ้น ระบบปฏิบัติการจึงเปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ตามเป้าหมาย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะทำงานได้บนคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ ก็จะต้องอาศัยระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ การนำเอาโปรแกรมสำหรับระบบปฏิบัติการหนึ่งไปใช้กับระบบปฏิบัติการอื่นจึงเป็นเรื่องยาก นอกเสียจากต้องทำการพัฒนาโปรแกรมนั้นใหม่ให้เหมาะสมกับระบบปฏิบัติการที่จะทำงานร่วมกัน
......................................................................................
การรู้คอมพิวเตอร์ สาระสำคัญของการรู้คอมพิวเตอร์ที่ผู้ศึกษา ความรู้ 4 ประการ คือ
1. ควรมีความรู้ความเข้าใจ เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและการประยุกต์ก็ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์
3. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทั่วไปของคอมพิวเตอร์ว่าเป็นระบบ อย่างหนึ่ง
4. ควรมีเจตคติทางบวก และปราศจากอคติต่อคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ความหมายของการรู้คอมพิวเตอร์
"การรู้คอมพิวเตอร์" หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติระบบ และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์กับงานของตน" จากความหมายของ "การรู้คอมพิวเตอร์" จะทราบว่าความรู้ ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์ของบุคคล จำแนกออกได้เป็น 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่
1) ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Systems)
2) การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Applications)
3) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming)
4) เจตคติต่อคอมพิวเตอร์ (Computer Attitude)

รายละเอียด เกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์แต่ละประเด็น มีดังนี้
1) ระบบคอมพิวเตอร์
2) การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
3) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
4) สมรรถนะด้านเจตคติการรู้คอมพิวเตอร์ (Attitudinal Computer Literacy Competencies)

ระบบคอมพิวเตอร์
1. หน้าที่ทั่วไปของคอมพิวเตอร์
1.1 อธิบายเรื่องระบบเลขฐานสองและความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ระบบดิจิตอลได้
1.2 อธิบายกระบวนการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้
1.3 อธิบายระบบคอมพิวเตอร์เบื้องฐานได้
1.4 เข้าใจระบบการทำงานภายในของคอมพิวเตอร์ ทั้งในด้านเครื่อง (Hardware) และซอฟต์แวร์
1.5 เข้าใจระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบอะนาล็อคและแบบดิจิตอล
1.6 เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย

2. การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์2.การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์
2.1 อธิบายและสามารถใช้คำศัพท์ต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ CPU, Memory, Input, Output, Network, Bit, Byte, On-line, Dos, chip, LAN, Mainframe, Microprocessor, Binary, Time, Share, RAM, ROM, BASIC,…)
2.2 อธิบายความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์ทั่วไปกับคอมพิวเตอร์
2.3 อธิบายความแตกต่างระหว่างระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์แบบ Multiuser กับ Multitasking และ Singleuser กับ Single-task ได้
2.4 เข้าใจแนวคิดของระบบคอมพิวเตอร์แบบ Network และ Time-sharing
2.5 เข้าใจระบบสื่อสารในคอมพิวเตอร์แบบขนานและแบบอนุกรม
2.6 เข้าใจระบบปฏิบัติการ (OS) เช่น DOS, MS-DOS
2.7 เข้าใจระบบปฏิบัติการ (OS) และแก้ปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ได้
2.8 รู้จักวิธีการเรียนรู้และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ได้

3. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Hardware)
3.1 เข้าใจสมรรถนะและข้อจำกัดของเครื่องคอมพิวเตอร์
3.2 อธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบหลักของระบบคอมพิวเตอร์ได้
3.3 อธิบายความแตกต่างระหว่าง RAM, ROM, Disk ต่างๆ , CD-ROM และหน่วยความจำอื่นๆ

4. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
4.1 อธิบายหลักการของซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้
4.2 อธิบายสมรรถนะโดยทั่วไป และข้อจำกัดต่างๆ

5. ประวัติพัฒนาการของคอมพิวเตอร์
5.1 เข้าใจประวัติและพัฒนาการของคอมพิวเตอร์และอภิปรายผลที่มีต่อสังคมทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้
5.2 บอกระบบคอมพิวเตอร์รุ่นต่างๆ และเข้าใจสภาพของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้
5.3 บอกความแตกต่างการพัฒนาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ ยุคทรานซิสเตอร์ ยุค IC และไมโครโปรเซสเซอร์
5.4 อธิบายคุณสมบัติทั่วไปในการปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์ระบบต่างๆ
5.5 สามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ได้
5.6 เข้าใจระบบการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เช่น Load, Run, Copy, Code, Unlock, Catalog, List, Save และ Delete

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Applications)" หมายถึง ความสามารถในการประเมินการเลือก และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1. กาประยุกต์ใช้ทั่วไป
1.1 ระบุรูปแบบทั่วไปในการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ และยกตัวอย่างการใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นงานส่วนตัวและงานด้านวิชาชีพได้
1.2 สามารถแสดงให้เห็นว่า แนวคิดการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นแนวคิดที่มีประสิทธิผลที่สุด
1.3 สามารถอธิบายองค์ประกอบต่างๆ บางประการในการตัดสินใจใช้คอมพิวเตอร์ในงานหรือการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
1.4 มีความสามารถและมีแนวคิดในการสื่อสารในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มากกว่าที่จะต้องให้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมผู้ใช้

2. ผลกระทบต่อสังคม
2.1 เข้าใจสภาพการใช้โปรแกรมและการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อสังคมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
2.2 เข้าใจปัญหาและข้อถกเถียงที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในด้านกฎหมายและ จริยธรรม
2.3 เข้าใจการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต่างๆ

3. โปรแกรมประยุกต์ใช้เฉพาะงาน
3.1 อธิบายลักษณะทั่วไป สมรรถนะ และข้อจำกัดของโปรแกรมประมวลคำ (Word Processing) รวมทั้งข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โปรแกรมประเภทนี้
3.2 สามารถใช้โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing Software) ในการสร้างสรรค์ การตัดต่อ (Edit) การบันทึก และการพิมพ์เอกสารทั้งในด้านวิชาการและงานส่วนตัว
3.3 อธิบายลักษณะทั่วไป สมรรถนะ และข้อจำกัดของโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management) รวมทั้งข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โปรแกรมประเภทนี้
3.4 สามารถใช้โปรแกรมระบบการจัดการฐานข้อมูลทั้งในด้านการสร้างสรรค์ การค้นหา การสืบค้น การเรียกใช้ การตัดต่อ และการพิมพ์
3.5 อธิบายลักษณะทั่วไป สมรรถนะ และข้อจำกัดของโปรแกรมตารางและการคำนวณ (Spreadsheet-financial Management Software) รวมทั้งข้อดีและข้อจำกัดของการใช้โปรแกรมนี้
3.6 เข้าใจและสามารถใช้ระบบโปรแกรมตารางและการคำนวณได้
3.7 สามารถใช้โปรแกรมสถิติอย่างง่ายได้
3.8 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกได้ เช่น Bit-mapped Graphics และ Object-oriented Graphics เป็นต้น
3.9 ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารทางไกลได้
3.10 สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานการพิมพ์ (Desktop Publishing)
3.11 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสมได้

4. การประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษา
4.1 บอกการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาที่สำคัญๆ ได้ เช่น การใช้เพื่อช่วยสอน การใช้เพื่อการบริหารและการจัดการ การใช้ในโทรคมนาคม เป็นต้น
4.2 สามารถอธิบายคุณลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์
4.3 สามารถอธิบายการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบงานด้านการบริหารและการจัดการทางการศึกษาได้
4.4 สามารถอธิบายการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองสถานการณ์เพื่อการเรียนการสอนได้
4.5 บอกภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถประยุกต์ใช้งานทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
4.6 สามารถอธิบายโปรแกรมการสอนคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิผล
4.7 สามารถออกแบบและหรือเลือกและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนได้
4.8 สามารถบอกวิธีการต่างๆ ในการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนได้

5. การประเมินและการเลือก
5.1 บอกได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ลักษณะใด ที่จำเป็นและเหมาะสมกับงานแต่ละประเภท
5.2 บอกเกณฑ์การประเมินเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ และเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เป็นประโยชน์ต่องานเฉพาะด้านได้

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming) หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์ โดยใช้ทักษะการเขียนภาษาโปรแกรม
1. ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหา
1.1 มีความเข้าใจว่า โดยทั่วไปแล้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหา
1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา และเลือก/พัฒนายุทธศาสตร์การแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

2. Algorithms/ ผังงาน
2.1 อธิบายและเขียนระบบการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและผังงานได้
2.2 สามารถอ่านระบบการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนหรือผังงานและวิเคราะห์ข้อมูลที่ให้จากผังงานนั้น
2.3 สามารถอธิบายสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสอนผังงานได้
2.4 แสดงให้เห็นประโยชน์ของผังงานในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
2.5 สามารถพัฒนาระบบการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและผังงานในการแก้ปัญหาได้

3. ภาษาคอมพิวเตอร์
3.1 อธิบายและบอกความแตกต่างระหว่างภาษาระดับต่างๆ เช่น Machine, Assembly, High-level, Authoring กับสิ่งที่เกี่ยวข้องได้ (เช่น Compiler, Interpreter)
3.2 อธิบายภาษาขั้นสูงในการโปรแกรม และความแตกต่างระหว่างภาษาต่างๆ ได้ เช่น BASIC, PASCAL, COBOL, FORTRAN, LOGO, HyperCard, Hypertext
3.3 สามารถใช้ระบบโปรแกรมภาษาบทเรียน (Authoring Language Systems) ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์พื้นฐานแบบปฏิสัมพันธ์ได้

4. การใช้โปรแกรม
4.1 สามารถใช้ศัพท์เทคนิคในการเขียนโปรแกรมได้ เช่น Variable, String, Variable, Linear programming, Branched Programming, Bug, Debug, Coding, Syntax, Looping, Object-oriented, Systems Analysis, Systems Design, Functional Specifications.
4.2 บอกขั้นตอนการสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขั้นแรก (กำหนดปัญหา) ไปจนถึงขั้นสุดท้าย (การนำไปใช้) ได้
4.3 เข้าใจระบบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ User-oriented
4.4 อธิบายลักษณะการโปรแกรมแบบ Structure/Modular Programming ได้
4.5 สามารถอ่านโปรแกรมง่ายๆ ได้
4.6 เข้าใจลักษณะของโปรแกรมที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.7 สามารถโยงความเข้าใจการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนหรือ ผังงานไปสู่การโปรแกรมโดยใช้ภาษาขั้นสูงได้
4.8 สามารถบอกข้อผิดพลาด (Error : Syntax and Logic) และแก้ไข (Debug) โปรแกรมที่กำหนดให้ได้
4.9 แก้ไขปรับปรุง (Modify) โปรแกรมที่บุคคลอื่นสร้างได้
4.10 สามารถเขียนโปรแกรมง่ายๆ โดยใช้ภาษาขั้นสูงได้ เช่น BASIC, PASCAL, LOGO เป็นต้น

สมรรถนะด้านเจตคติการรู้คอมพิวเตอร์ (Attitudinal Computer Literacy Competencies)
1. มี (แสดง) เจตคติทางบวก (ที่ดี) ต่อการใช้คอมพิวเตอร์
2. มีความรู้สึกมั่นใจต่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทั้งที่บ้าน โรงเรียน และสภาพทั่วๆ ไป
3. รู้สึกสบายใจเมื่อใช้คอมพิวเตอร์
4. ยอมรับว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาที่เร็วและถูกต้องแม่นยำ
5. มีความปรารถนาที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในงานของโรงเรียน ชีวิตส่วนตัว
6. มีความประทับใจศักยภาพที่คอมพิวเตอร์ให้ในด้านความเป็นส่วนตัว
7. มีเจตคติด้านความรับผิดชอบต่อการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรม
8. มีเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ว่า คอมพิวเตอร์ไม่ต้องรับผิดชอบ ในกรณีที่มีข้อผิดพลาด แต่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรรับผิดชอบต่อการใช้คอมพิวเตอร์
9. ไม่รู้สึกกลัวหรือเสียขวัญเมื่อใช้คอมพิวเตอร์